|
การเลือกใช้ ครีมกันแดด (3.6/5)
|
|
|
เคล็ดลับที่สำคัญที่สุดที่ผมอยากจะบอกผู้อ่านได้ทราบถึงการดูแลผิว ไม่ให้หยาบกร้าน ไม่ให้หมองคล้ำหรือมีริ้วรอยก่อนวัยอันควร คือ การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด ให้เป็นประจำทุกวัน หากเริ่มใช้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวแล้วล่ะก็เมื่อกาลเวลาผ่านไปผิวของคุณจะไม่เส ื่อมสภาพไปตามกาลเวลาอีกทั้งยังไม่ต้องใช้เครื่องประทินโฉมให้มากมายเพื่อจะ มาฟื้นฟูสภาพผิวในภายหลังโดยเฉพาะคุณสุภาพสตรีเมื่อย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธ ุ์(เริ่มมีประจำเดือน) คุณควรเริ่มใช้ ผลิตภัณฑ์กันแดด ได้เลย เลือกให้เหมาะกับสภาพผิวของคุณนะครับ วันนี้มาทำความรู้จักกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์กันแดด ดู
การวัดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด
ค่า SPF หรือ Sun Protection Factor นั้น หมายถึง ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นั้นที่จะป้องกันการไหม้แดด ซึ่งหมายถึงการปกป้องผิวจากรังสี UVB เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าปกติโดนแดดเพียง 20 นาที ผิวก็บวมแดง (erythema) เมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF 15 จะทำให้อยู่กลางแดดได้นานขึ้น 15 เท่า คือ 300 นาที (5 ชั่วโมง) ซึ่งระยะเวลาในการที่สีผิวจะเปลี่ยนเป็นคล้ำขึ้นเมื่อออกแดดเป็นเวลานานเท่า ไรนั้นในแต่ละคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
ผลิตภัณฑ์กันแดด
ผลิตภัณฑ์กันแดดจะมีส่วนผสมของสารกันแดดซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ก็คือ
1. สารเคมีดูดซับแสง (Chemical filters) สารเหล่านี้ทำหน้าที่ป้องกันแสงแดด โดยการดูดซับ (absorb) พลังงานของรังสี UV ทำให้รังสีเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อผิวหนังได้ สารเคมีแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีในช่วงคลื่นที่ต่างกัน
ข้อดี ของสารกลุ่มนี้คือ ไม่มีสี ไม่เหนียวเหนอะหนะ จึงนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ
ข้อเสีย คือ ก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองได้ง่ายและไม่ออกฤทธิ์ทันทีที่ทา ต้องรอประมาณ 20-30 นาที
ตัวอย่างของสารเคมีเหล่านี้ได้แก่ Cinnamates, Camphorated, benzylidene, Salicylates, Benzimidazole, Benzotriazole, Benzophenone, Dibenzoylmethane สารสกัดจากธรรมชาติ (natural extracts) เช่น ว่านหางจระเข้, คาโมไมล์
2 .สารกันแดดชนิดกายภาพ (Physical blockers) สารในกลุ่มนี้จะเคลือบผิวหนัง ทำหน้าที่ป้องกันแสงแดด โดยการสะท้อน (reflect) และการกระจายรังสี (scatter) ไม่ให้ตกกระทบผิวหนัง
ตัวอย่างเช่น Titanium dioxide และ Zinc oxide
ข้อดี ของสารกันแดดชนิดนี้ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ไม่ดูดซึมเข้าสู่ผิว จึงไม่ค่อยพบอาการแพ้หรือระคายเคือง เมื่อทาแล้วสามารถกันแดดได้ทันที และสามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB
เดิมสารในกลุ่มนี้มีข้อเสีย คือ เหนียวเหนอะหนะ ทาแล้วเห็นเป็นสีขาว แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทำให้ขนาดอนุภาคเล็กลง (micronised form) จึงไม่เห็นเป็นสีขาวทึบ เมื่อทาผิวความเหนียวก็ลดลงและยังป้องกันแสงแดดได้ดีขึ้น
เคล็ดลับในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์กันแดดมีให้เลือกใช้มากมาย จนบางครั้งก็เกิดความสับสนว่าจะเลือกใช้แบบไหนดี หลักการโดยทั่ว ๆไปขอมอบไว้ให้เป็นข้อคิดก็คือ
1.เลือกให้เหมาะกับสภาพความไวของผิวต่อแสงแดด คนผิวขาวจัดควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงๆ ในขณะที่คนผิวคล้ำจะมีเม็ดสีผิว (melanin) ช่วยกรองรังสีไว้บางส่วน จึงสามารถเลือก SPF ที่ต่ำลงมาได้
2.ผิวที่เป็นฝ้า กระ หรือทำ skin treatment มา(เช่นทำ AHA,BHA,ไอออนโต) ควรเลือกค่า SPF สูงๆ
3.ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานควรเลือก SPF สูงๆ และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ประสิทธิภาพในการกันแดดคงอยู่อย่างสม่ำเสมอ
4.เลือกที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB (ชนิดที่เป็นแบบกายภาพ สังเกตส่วนประกอบง่ายๆคือมี Zinc oxide หรือ Titanium dioxide เป็นส่วนประกอบ)
5.ผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนใหญ่จะมีสารกันแดดชนิด chemical filters ผสมกันอยู่หลายชนิด ทำให้เมื่อเกิดอาการแพ้และระคายเคืองจะไม่สามารถบอกได้ว่าแพ้สารตัวไหนแน่ นอกจากจะไปทำการทดสอบในโรงพยาบาลใหญ่ ดังนั้น ผู้ที่เคยใช้ครีมกันแดดหลายยี่ห้อแล้วเกิดอาการแพ้ ควรเลือกใช้แต่ครีมกันแดดที่มีเฉพาะ Titanium dioxide หรือ Zinc oxide เท่านั้น
6.ควรมีคุณสมบัติกันน้ำจะได้ไม่ละลายไปกับน้ำ เมื่อลงเล่นน้ำหรือถูกชะออกไปกับเหงื่อ บทความนี้นำมาจาก http://www.DoctorSan.com |
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
pop! - อ่านมากกว่า 5,000 ครั้ง cool! - อ่านมากกว่า 10,000 ครั้ง Too Hot! - อ่านมากกว่า 30,000 ครั้ง
|
|