|
ไอออนโตโฟเรซิส ( IONTOPHORESIS ) (3.67/6)
|
|
|
ไอออนโตโฟเรซิส (IONTOPHORESIS) เรื่อง ของความสวย ความหล่อนั้นเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร โดยเฉพาะยุคปัจจุบันนี้ จะเน้นแต่ความสามารถ ความฉลาดเฉลียวอย่างเดียวก็คงไม่เพียงพอ วันนี้ ผมขอตามใจผู้อ่าน เล่าเรื่องต่าง ๆ ของเทคนิคเพื่อความสวยความหล่อกันสักหน่อย เพื่อจะได้รู้เขารู้เรา เวลาเห็นโฆษณาจะได้ตัดสินใจได้ว่าควรเชื่อได้แค่ไหน นวัตกรรมหรือเทคนิคใหม่ในการเสริมเติมความสวยหรือความหล่อที่จะเล่าต่อไปนี ้ จัดเป็นเพียงเทคนิคเสริม ซึ่งเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย ดังนั้นหากไม่มีเวลาหรือเงินทองเหลือเฟือต้องคิดให้ดี แต่ถ้ามีเวลาและกระเป๋าตุงก็ ไม่ห้ามกัน! เรื่องแรกเป็นเรื่องของ Iontophoresis หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า ไอออนโต เทคนิคนี้แท้ที่จริงแล้วเริ่มรู้จักกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1747 คือนับได้ 255 ปีแล้ว
คำว่า iontophoresis มาจากภาษากรีก แปลว่าการนำเอาประจุไฟฟ้าเข้าไปใช้ในทางการแพทย์เพื่อทำให้ยาซึมผ่านผิวหนังได้มากขึ้น ที่นิยมนำมาใช้มากที่สุด ได้แก่ การใช้รักษาโรคเหงื่อออกมากผิดปกติ (รักษาโรคนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936-1948) โดยใช้เครื่องมือไอออนโตและสารเคมีซึ่งเป็นแค่น้ำประปาธรรมดามาทำปฏิกิริยาบ ริเวณที่มีเหงื่อออกมาก ครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จนเหงื่อลดลงเป็นปกติ
นอกจากนั้นก็มีการนำสารเคมีต่าง ๆ มาใช้กับเทคนิคไอออนโตเพื่อรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ อีก เช่น โรคด่างขาว(Vitiligo) โรคผิวหนังแข็งเป็นหิน(Hyperkeratosis) หูดที่ฝ่าเท้า(Wart) แผลที่ผิวหนัง เริมที่ริมฝีปาก(Herpes simplex) และแผลเป็นจากสิว(Post acne scar) นอกจากนี้ยังมีการนำเทคนิคนี้มาใช้ในคนที่มีอาการปวดเรื้อรังของบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดกล้ามเนื้อต้นคอ โดยประยุกต์มาใช้ยาเฉพาะที่ซึ่งอาจจะเป็นยาชา ยาแก้ปวดที่ออฤทธิ์เฉพาะที่ก็ได้
หลักการเบื้องต้นของไอออนโตคือการเร่งการดูดซึมยาผ่านเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนังผ่านชั้นหนังกำพร้า (epidermis) หนังแท้ (dermis) ชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(connective tissue) โดยผ่านเข้าทางรูขุมขนหรือซึมผ่านผิวหนังชั้นนอกโดยตรง วิธีการเร่งยานั้นใช้หลักการพื้นฐานของไฟฟ้าสถิตเบื้องต้นคือประจุไฟฟ้าเหมือนกันจะผลักกัน ประจุไฟฟ้าต่างกันจะดูดกัน คราวนี้ผู้ที่ทำไอออนโตจะเลือกใช้ยาหรือสารเคมีอะไรเพื่อจะเร่งให้ดูดซึมจะต ้องทราบกฎพื้นฐาน 2 ประการคือ
1. ยาที่ใช้ควรจะแตกตัว (ionic) ได้ง่ายเมื่อมีตัวทำละลายที่เหมาะสม(solvent) ตัวทำละลายที่นิยมใช้กันคือน้ำเปล่าสะอาด (sterile water)
2.ยาเมื่อแตกตัวแล้วได้เป็นประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ (cation or anion) ทั้งนี้ พื้นฐานข้อนี้สำคัญมากเพราะยาแต่ละชนิดเมื่อแตกตัวมาแล้วจะได้ประจุไฟฟ้าที่ ไม่เหมือนกัน เมื่อนำยาชนิดที่แตกตัวแล้วได้ประจุลบ ไปผสมตัวทำละลายแล้วทาบริเวณที่ต้องการให้ดูดซึม ยกตัวอย่างเช่น ใช้วิตามิน C ซึ่งแตกตัวได้ประจุลบทาที่บริเวณใบหน้าเมื่อใช้เครื่องมือที่เป็นแท่งสื่อนำ ไฟฟ้ามาถูไถที่ใบหน้า ต้องปรับให้แท่งสื่อนำ(electrode) นี้เป็นขั้วลบด้วยจึงจะผลักยาเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังได้
เมื่อทราบหลักการพื้นฐานนี้แล้วหากจะไปทำไอออนโตที่ใดควรพิจารณาให้ดีเพราะม ีสถานเสริมความงามบางแห่งที่ทราบหลักการเพียงผิวเผินแล้วไปประยุกต์ใช้กับสา รเคมีบางชนิดเช่นสมุนไพร เลือกตัวทำละลายไม่เหมาะสม ใช้แท่งประจุไฟฟ้า(electrode) ไม่ถูกต้องอีกทั้งยังต้องปรับแรงดันของกระแสไฟฟ้า(volt) ใม่เหมาะสม อาจเกิดปัญหาตามมาได้ ผู้เขียนเองเคยเจอผู้ป่วยหลายรายที่ผิวหน้าไหม้เกรียมมาหาจากการไปทำไอออนโต ในสถานเสริมความงามที่ไม่มีความชำนาญอย่างแท้จริง
เมื่อปี ค.ศ. 1993 มีงานวิจัยของคณะแพทย์ญี่ปุ่นตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชื่อ Skin Surgery ว่าใช้ iontophoresis ของวิตามินซีรักษาฝ้าและรอยดำจากการเกิดผื่นแพ้สัมผัสสามารถทำให้รอยดำเหล่า นี้จางลงได้
ต่อมาก็มีงานวิจัยในประเทศไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ใช้อาสาสมัคร 10 คน โดยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนหยุดยารักษาฝ้าทุกอย่าง ยกเว้นยากันแดดเป็นเวลา 1 เดือนก่อนให้การรักษาด้วยวิธีไอออนโต และต่อไปอีก 2 สัปดาห์หลังการศึกษา ผู้เข้ารับการทดลองจะได้รับการรักษาด้วย iontophoresis ของวิตามินซี 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยที่ใบหน้าซีกหนึ่งได้ยาจริง (คือวิตามินซี) และอีกซีกได้ยาหลอก (คือน้ำเกลือ) ผลการทดลองแสดงว่า ผู้ป่วย 9 ใน 10 รายมีฝ้าจางลงในด้านที่ได้รับวิตามินซี เมื่อเทียบกับด้านที่ไม่ได้รับยา
กรณีการใช้ยาทาเพื่อลบรอยดำของฝ้าหรือรอยแผลเป็นจากสิว หรือจากสาเหตุอื่น ๆ มักใช้เวลานานหลายเดือน หรืออาจเป็นปี แพทย์ผิวหนังจึงได้นำเครื่องมือไอออนโตมาใช้ในการนำยาที่ละลายน้ำได้เข้าสู ่ผิวหนังลึก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยตัวยาที่ใช้รักษาได้แก่ วิตามินซีสำหรับลบรอยดำของฝ้า รอยดำหลังจากการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ซึ่งจะทำให้ผิวหน้าสดใสและดูอ่อนกว่าวัย ขึ้น กรดวิตามินเอ และเจลสำหรับลบรอยแผลเป็นหรือรอยหลุมที่เกิดจากสิว
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรทำไอออนโตในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาตัวที่จะนำมาทำไอออนโต ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลที่ผิวหนังหรือผิวติดเชื้อบริเวณที่จะทำ และในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคลมชัก
สำหรับค่าใช้จ่ายในการทำไอออนโตนั้นควรอยู่ระหว่าง 200-1,000 บาทต่อครั้ง(แล้วแต่ว่าจะใช้ตัวยากี่ตัว) และเนื่องจากเทคนิคนี้เป็นเทคนิคทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยจึงควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยตรง
ไม่ควรไปรับบริการจากสถานเสริมความงามที่ไม่มีแพทย์ควบคุม
บทความนี้นำมาจาก http://www.DoctorSan.com |
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
pop! - อ่านมากกว่า 5,000 ครั้ง cool! - อ่านมากกว่า 10,000 ครั้ง Too Hot! - อ่านมากกว่า 30,000 ครั้ง
|
|